เกี่ยวกับเรา
ความเป็นมาของสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
Thai Amateur Weightlifting Association (TAWA)
ประวัติความเป็นมา
สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 โดย นายกอง วิสุทธารมณ์ ผู้อำนวยการ กองกีฬา กรมพลศึกษา ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสมาคมต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตในวันที่ 18 ตุลาคม 2501 จากนั้นได้ทำเรื่องขอจดทะเบียนสมาคม ต่อกองตำรวจสันติบาล ได้รับการจดทะเบียน ในวันที่ 22 ธันวาคม 2501 จึงนับได้ ว่าสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2501 โดยมีที่ตั้ง สำนักงาน ณ โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ตำาบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร
วัตถุประสงค์เพื่อ
- ส่งเสริมการยกน้ำาหนักในประเทศไทย
- จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศ สโมสรสมาชิก
- จัดการแข่งขันยกน้ำาหนัก และส่งเสริมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างสมาคมยกน้ำหนักนานาชาติ
- ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
โดยผู้ดำารงตำาแหน่งนายกสมาคมฯ คนแรก คือ นายสำราญ เตชะกำาพุธ
กิจกรรมของสมาคม
กิจกรรมที่สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการต่อเนื่องคือ จัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะ เลิศแห่งประเทศไทย ในระดับยุวชน เยาวชน และประชาชน, เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันยกน้ำหนักระดับนานาชาติ,การจัดอบรม ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินกีฬายกน้ำหนัก, การเตรียมทีมนักกีฬาส่งเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติในนามของประเทศไทย เช่น การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกีฬาซีเกมส์) เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย และ การแข่งขัน ชิงชนะเลิศแห่งโลก เป็นต้น
การจัดการแข่งขันขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย รับผิดชอบจัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยต่อ เนื่องเป็นประจำาทุกปี ๆ ละ 2-3 ครั้ง ในเบื้องต้นเป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยของหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดการแข่งขัน ของ บุคคลสำคัญหรือของคณะกรรมการบริหารสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมกีฬายกน้ำหนักให้พี่ น้องประชาชนทั่วไปได้มีความเข้าใจและให้ความสนใจต่อกีฬายกน้ำหนักมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีหน่วย งานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ สนับสนุนให้เยาวชนหันมาฝึกซ้อมและเล่นกีฬายก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ทำาให้กีฬายกน้ำหนักในประเทศพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทยรุ่นใหม่เพิ่มมาก ขึ้นตามลำดับ
วิสัยทัศน์ (vision)
“สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พัฒนามาตรฐานการจัดการและบุคลากรสู่มาตรฐานสากล สร้างความสำเร็จและความภาคภูมิใจในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และการแข่งขันระดับโลก”
นิยามของวิสัยทัศน์
สมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยมีความสามารถในการบริหารจัดการทั้งในส่วนของสมาคมฯ พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาต่างๆ ทั้งผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอน และผู้บริหารไปสู่ระดับสากล เพื่อเป้าหมายสูงสุดในความเป็นเลิศในวงการกีฬายกน้ำหนักระดับโลกและประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับโลก เช่น กีฬาโอลิมปิกและกีฬายกน้ำหนักชิงแชมป์โลก
พันธกิจ (mission)
- พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้เป็นองค์กรกีฬามาตรฐานที่มีศักยภาพในการบริหารองค์กรให้พึ่งพาตนเองและเป็นองค์กรกีฬาในระดับสากล
- พัฒนานักกีฬา ขยายฐานนักกีฬา บริหารจัดการการฝึกซ้อมของนักกีฬาให้มีศักยภาพในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในกีฬาเป็นเลิศระดับโลก
- พัฒนาบุคลากรกีฬาของประเทศให้มีปริมาณและสมรรถภาพที่เพียงพอต่อการรองรับ การพัฒนาการแข่งขันและการเติบโตทางการกีฬาของประเทศและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรกีฬา แบบครบวงจรในระดับนานาชาติ
- บริหารจัดการการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักให้มีมาตรฐานสากล ควบคุม กำกับ และพัฒนา การแข่งขันกีฬาของประเทศให้ได้มาตรฐานตามหลักของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ
- พัฒนาวิชาการ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กีฬาและการให้บริการทางการกีฬาแก่สังคม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา
ทำเนียบนายกสมาคม
- นายสำราญ เตชะกำาพุธ (2501-2531)
- นายเฉลิม ศรีบุญเรือง(2501-2531)
- นายอาทร สังขะวัฒนะ (2501-2531)
- นายสุชาติ สมิทธินันต์ (2501-2531)
- พลเอก วิมล วงศ์วานิช (5 ก.พ. 2531-25 ม.ค. 2535)
- พลเอก ชัยณรงค์ หนุนภักดี (26 ม.ค. 2535-13 ต.ค. 2543)
- พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (14 ต.ค. 2543-10 เม.ย. 2548)
- นางบุษบา ยอดบางเตย (11 เม.ย. 2548-3 พ.ค. 2555)
- พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (14 พ.ค. 2555-1 ก.ย. 2557)
- นางบุษบา ยอดบางเตย (2 ก.ย. 2557-30 ม.ค.2563)
- นายปรัชญา กีรตินันท์ (9 เม.ย. 2563-ปัจจุบัน)
นายกกิตติมศักดิ์
- พลเอก วิมล วงศ์วานิช
- พลเอก ชัยณรงค์ หนุนภักดี
- นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
- พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
กรรมการบริหาร
นายปรัชญา กีรตินันท์ | นายกสมาคม |
นายอานัติ วิเศษรจนา | อุปนายก |
พลเอก คณิต สาพิทักษ์ | อุปนายก |
นายสมศักย์ ปรางทอง | อุปนายก |
พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ | อุปนายก |
นายรชต ยอดบางเตย | กรรมการ/ฝ่ายบริหาร |
พลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์ | กรรมการ/ฝ่ายเทคนิค |
นายสมศักดิ์ กาญจนาคาร | กรรมการ/ฝ่ายสิทธิประโยชน์ |
นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย | กรรมการ/ฝ่ายจัดการแข่งขัน |
นายธงชัย วรไพจิตร | กรรมการ/ฝ่ายวิชาการ |
รองศาสตราจารย์ ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร | กรรมการ/ฝ่ายกฎหมาย |
นายศิริพจน์ ศรีบัณฑิตกุล | กรรมการ/ฝ่ายแพทย์ |
นายฤทธิณรงค์ กุลประสูตร | กรรมการ/ฝ่ายประชาสัมพันธ์ |
นางสาวปัทมา ลำเต็ม | กรรมการ / เหรัญญิก |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมชัย เลิศอมรรัฐ | กรรมการ/ฝ่ายปฏิคม |
นางธรพรรษธร วจีธัญเจริญกุล | กรรมการ |
พลเอก วิสุทธิ์ เดชสกุล | เลขาธิการ |
นาวาเอก เพชรเกษม รตาภรณ์ | รองเลขาธิการ/นายทะเบียน |
นางสาวสิริลักษณ์ ทัดมั่น | รองเลขาธิการ/ฝ่ายต่างประเทศ |
ประธานที่ปรึกษา
นางบุษบา ยอดบางเตยนายกเทศมนตรีเชียงใหม่ พ.ศ. 2538 – 2541
ข้อมูลส่วนตัว
- วันเกิด: 4 กุมภาพันธ์ 2494 (อายุ 69 ปี)
- สัญชาติ: ไทย
- ศาสนา: พุทธ
- คู่สมรส: พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย อดีตวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่
ด้านการศึกษา:
- ระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเมือง) จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2550
ด้านการเมือง:
- เทศมนตรีฝ่ายการศึกษา ฝ่ายบริหาร นครเชียงใหม่
- นายกเทศมนตรีนครเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2538 – 2541)
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2549)
ด้านกีฬา:
- นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2548 – 2555 และ พ.ศ.2557 – 2563)
- รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2552 – 2556)
- คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้มอบอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ด้านสตรีและกีฬา (Women and Sport Achievement) (พ.ศ. 2556)
- คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560)
- คณะกรรมการกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2562)
- เลขาธิการสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (Asian Weightlifting Federation) (พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)
ด้านกีฬายกน้ำหนัก:
- ประสบการณ์ในการบริหารงานสมาคม 18 ปี
- ประสบการณ์ในการตัดสินระดับนานาชาติ 6 ปี
- ส่งเสริมและพัฒนานักกีฬาไทยจนได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิก (Beijing 2008, Rio 2016)
- ส่งเสริมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันชิงแชมป์โลก และผลักดันนักกีฬาไทยสู่การสร้างสถิติโลก รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนา ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินในระดับนานาชาติ
ประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก:
- การแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ระดับประชาชนและเยาวชน
- การแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ระดับยุวชน
- การแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์ยุวชนโลก ประจำปี พ.ศ. 2560 (2017 IWF Youth World Weightlifting Championships, Bangkok, Thailand)
- การแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก ประจำปี พ.ศ. 2562 (2019 IWF World Championships, Pattaya, Thailand)
การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการยกน้ำหนัก:
- จัดการเลือกตั้งของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (2017 IWF Electoral Congress)
- จัดการประชุมวิสามัญของสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (2017 AWF Extraordinary Meeting)
- จัดการประชุมกรรมการบริหารของสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2017 SEAWF Executive Board Meeting)
- จัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ตัดสินตามแนวทางของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF Development Program Seminar & Workshop Weightlifting Technical Official)