Skip to main content

ข่าวประชาสัมพันธ์

“ศรัท” คว้า 1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง รุ่น 96 กก. ชาย ศึกเอเชีย

"ศรัท สุ่มประดิษฐ์" เก็บ 1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง รุ่น 96 กิโลกรัมชาย ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว 5 เหรียญทอง, 3 เหรียญเงิน และ 7 เหรียญทองแดง โดยยังมี ดวงอักษร ใจดี ชิงชัยปิดท้าย รุ่นมากกว่า 87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ แข่งขันวันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00 น.

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ ก่อนหน้านี้ทัพยกน้ำหนักไทยคว้ามาแล้ว 5 เหรียญทอง, 2 เหรียญเงิน และ 5 เหรียญทองแดง ดังนี้ รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง "มายด์" สิริวิมล ประมงคล 3 เหรียญทอง/ รุ่น 76 กิโลกรัม หญิง สิริยากร ไขพันดุง 1 เหรียญทอง ท่าสแนทช์, 1 เหรียญเงิน น้ำหนักรวม, 1 เหรียญทองแดง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก/ รุ่น 73 กิโลกรัมชาย วีรพล วิชุมา 1 เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก, 1 เหรียญเงิน นำ้หนักรวม/ รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญ 1 เหรียญทองแดง จากท่าสแนทช์, สุรจนา คำเบ้า 1 เหรียญทองแดง จากน้ำหนักรวม/ รุ่น 61 กิโลกรัมชาย ธีรพงศ์ ศิลาชัย2 เหรียญทองแดง จากท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และ น้ำหนักรวม

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ทีมไทยส่ง ศรัท สุ่มประดิษฐ์ ลุ้นเหรียญรางวัลในรุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ โดยท่าสแนทช์ ศรัท เรียกเหล็ก 2 ครั้งแรก ที่ 169, 173 กิโลกรัม ตามลำดับ ยกผ่านไปได้ทั้งหมด จากนั้นครั้งที่ 3 เรียกเหล็ก 176 กิโลกรัม เพื่อหวังลุ้นแซงคว้าเหรียญทอง แต่ยกไม่ผ่าน ทำให้สถิติอยู่ที่ 173 กิโลกรัม ได้เหรียญเงิน

ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ศรัท ครั้งแรกยกผ่านที่ 202 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 เรียกเหล็ก 206 กิโลกรัม ยกไม่ผ่าน ครั้งที่ 3 ขยับเหล็กเป็น 207 กิโลกรัม ยกผ่านไปได้ ทำให้สถิติอยู่ที่ 207 กิโลกรัม รับเหรียญทองแดง ขณะที่ น้ำหนักรวม มี 380 กิโลกรัม ได้เหรียญทองแดง สรุป ศรัท คว้าไป 1 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง

ด้าน หลิว ฮวานฮวา จากจีน รับ 2 เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 175 กิโลกรัม, นำ้หนักรวม 385 กิโลกรัม และ 1 เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 210 กิโลกรัม ส่วน วอน จองบอม จากเกาหลีใต้ 171 กิโลกรัม รับ 1 เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 211 กิโลกรัม, 1 เหรียญเงิน น้ำหนักรวม 382 กิโลกรัม และ 1 เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ 171กิโลกรัม

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว 5 เหรียญทอง, 3 เหรียญเงิน และ 7 เหรียญทองแดง

สำหรับทัพยกน้ำหนักไทยยังมีโปรแกรมชิงชัยปิดทัาย ในวันที่ 13 พฤษภาคม เวลา 11.00 น. ได้ลุ้นจาก ดวงอักษร ใจดี รุ่นมากกว่า 87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ

  • Hits: 2547

ยกน้ำหนักไทยมุ่งหน้าสู่กัมพูชา สู้ศึกซีเกมส์

นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย ผู้จัดการทีมชาติไทย นำคณะนักกีฬายกน้ำหนัก เดินทางสู่ประเทศกัมพูชา เพื่อร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อช่วงเช้าวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 โดยมี พลเอกวิสุทธิ์ เดชสกุล เลขาธิการสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และ ดร.จอมชัย เลิศอมรรัฐ กรรมการบริหารสมาคมฯ ฝ่ายปฏิคม มาร่วมให้กำลังใจคณะนักกีฬาที่สนามบินสุวรรณภูมิ

สำหรับกีฬายกน้ำหนักในซีเกมส์ครั้งนี้ จะแข่งขันกันระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2566 ชิงชัยกันทั้งสิ้น 14 เหรียญทอง ที่สนามโอลิมปิก เนชั่นแนล สเตเดียม กรุงพนมเปญ

  • Hits: 2601

“สิริยากร” เก็บ 1 ทอง, 1 เงิน, 1 ทองแดง รุ่น 76 กก.หญิง ศึกเอเชีย

"สิริยากร ไขพันดุงเก็บเพิ่มอีก เหรียญทอง, 1 เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง ขณะที่ จ่าเอก พชรเมธี ธาระพันธ์ จบที่ ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ส่วน จอมพลังหนุ่มจีน แบ่งเหรียญทองกันเอง พร้อมทุบสถิติโลกใหม่ทุกท่า รุ่น 89 กิโลกรัมชาย ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว เหรียญทอง, 2 เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง


การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ ก่อนหน้านี้ทัพยกน้ำหนักไทยคว้ามาแล้ว เหรียญทอง, 1 เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง ดังนี้ รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง "มายด์สิริวิมล ประมงคล 3เหรียญทองรุ่น 73 กิโลกรัมชาย วีรพล วิชุมา เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก, 1 เหรียญเงิน นำ้หนักรวมรุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญ เหรียญทองแดง จากท่าสแนทช์สุรจนา คำเบ้า เหรียญทองแดง จากน้ำหนักรวมรุ่น 61กิโลกรัมชาย ธีรพงศ์ ศิลาชัยเหรียญทองแดง จากท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และ น้ำหนักรวม


ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ทีมไทยส่ง สิริยากร ไขพันดุง ลงชิงชัยในรุ่น 76 กิโลกรัมหญิง โดยท่าสแนทช์ สิริยากร เรียกเหล็ก 105, 108, 110 กิโลกรัม ยกผ่านไปได้ทั้งหมด สถิติอยู่ที่ 110 กิโลกรัม คว้าเหรียญทองมาครอง จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ครั้งแรกยกผ่านที่ 123 กิโลกรัม ครั้งที่ ยกผ่านที่127 กิโลกรัม และครั้งที่ เรียกเหล็ก 130 กิโลกรัม แต่ยกไม่ผ่าน สถิติอยู่ที่ 127กิโลกรัม รับเหรียญทองแดง ทำให้น้ำหนักรวมขยับไปอยู่ที่ 237 กิโลกรัม ได้เหรียญเงิน


ด้าน จอมพลังสาว "เจ้าภาพเกาหลีใต้ ทำผลงานน่าประทับใจกองเชียร์ โดย คิม ซูยอง คว้า เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 134 กิโลกรัมน้ำหนักรวม 243กิโลกรัม และ เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 109 กิโลกรัม ส่วน ลี มินจี รับ เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 128 กิโลกรัม และ เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ 100 กิโลกรัม และน้ำหนักรวม 228 กิโลกรัม


ต่อมา รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ ทีมไทยได้ลุ้นจาก จ่าเอก พชรเมธี ธาระพันธ์ ปรากฏว่า ท่าสแนทช์จอมพลังหนุ่มไทย เรียกเหล็ก 145 กิโลกรัม ยกไม่ผ่านทั้ง3ครั้ง ทำให้ไม่มีสถิติ จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ครั้งแรกยกผ่านที่ 190 กิโลกรัม ครั้งที่ ยกไม่ผ่านที่ 196 กิโลกรัม แม้จะพยายามออกมาแก้ตัวในครั้งที่ ที่น้ำหนักเดิม แต่ทำไม่สำเร็จ สถิติอยู่ที่ 190 กิโลกรัม ได้ที่ ส่วนน้ำหนักรวมไม่มีสถิติ เนื่องจากท่าสแนทช์ไม่มีสถิติ


ขณะที่ ลี ดายิน จากจีน คว้า เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 180 กิโลกรัม ทำลายสถิติมาตรฐานโลกที่กำหนดไว้ 179 กิโลกรัมนำ้หนักรวม 396 กิโลกรัม ทำลายสถิติโลกของ คาร์ลอส เมย์ นาซาร์ จากบัลแกเรีย ที่ทำไว้ 395 กิโลกรัม และ เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 216 กิโลกรัมเทียน เถา จากจีน คว้า เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 222 กิโลกรัม ทำลายสถิติโลกเดิมของ คาร์ลอส เมย์ นาซาร์ จากบัลแกเรีย ที่ทำไว้ 221 กิโลกรัม, 1 เหรียญเงิน น้ำหนักรวม 387 กิโลกรัม, 1 เหรียญทองแดง สแนทช์ 165 กิโลกรัมอิมิล โมลโดโดซอฟ จากคีร์กีซสถาน เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 166 กิโลกรัมจาวาดี อาเลียบาดี เมอร์ มอสตาฟา จากอิหร่าน รับ 2เหรียญทองแดง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 205 กิโลกรัมน้ำหนักรวม 364 กิโลกรัม

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว เหรียญทอง, 2 เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง


สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 11 พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 . ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่ 13 พฤษภาคม รุ่นมากกว่า87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 . ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 2496

“เขมิกา” ประเดิมลุ้นเหรียญซีเกมส์ ชิงชัย 13 พ.ค.นี้

ยกน้ำหนักซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่ประเทศกัมพูชา จะเปิดฉากชิงชัยกันวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2566 จำนวน 14 เหรียญทอง วันแรกชิง 4 เหรียญ เขมิกา กำเนิดศรี เป็นคนแรกของทีมที่จะประเดิมเวทีในรุ่น 45 กิโลกรัมหญิง

การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่ประเทศกัมพูชา ยกน้ำหนัก มีชิงชัยกัน 14 เหรียญทอง แบ่งเป็น หญิง 7 รุ่น และ ชาย 7 รุ่นแต่เจ้าภาพจำกัดให้แต่ละชาติส่งนักกีฬาในแต่ละประเภทได้สูงสุดเพียงแค่ 6 คน รวม 12 รุ่นเท่านั้น จะเริ่มแข่งขันวันแรก 13 พฤษภาคม 2566 ที่สนามไดโนซอร์ ชรอย ชางวาร์ ชิง 4 เหรียญทอง โดยโปรแกรมการแข่งขันของนักกีฬาไทย เริ่มที่เวลา 10.00 น. รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง น.ส.เขมิกา กำเนิดศรี เวลา 12.00 น. รุ่น 55 กิโลกรัมชาย อส.ทพ.ธาดา สมบุญอ้วน เวลา 14.00 น. รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ร้อยโทหญิงศานิกุณ ธนสาร และ เวลา 16.00 น. รุ่น 61 กิโลกรัมชาย อส.ทพ.ธีรพัฒน์ ชมชื่น

วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชิง 4 เหรียญทอง เริ่มเวลา 10.00 น. รุ่น 55 กิโลกรัมหญิง น.ส.โป๊ยเซียน ยอดสาร เวลา 12.00 น. รุ่น 67 กิโลกรัม อส.ทพ.วิษณุ จันทรี เวลา 14.00 น. รุ่น 59 กิโลกรัมหญิง น.ส.สุรัสวดี ยอดสาร และ เวลา 16.00 น. รุ่น 73 กิโลกรัมชาย จ่าเอกอนุชา ดวงศรี

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ชิง 3 เหรียญทอง แต่ทีมไทยส่งแข่งขัน 2 รุ่น เวลา 12.00 น. รุ่น 81 กิโลกรัมชาย นายจตุภูมิ ชินวงศ์ และเวลา 14.00 น. รุ่น 71 กิโลกรัมหญิง น.ส.ทิพย์วรา จรถวิล

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ชิง 3 เหรียญทอง ทีมไทยแข่ง 2 รุ่น เวลา 12.00 น. รุ่นมากกว่า 71 กิโลกรัมหญิง น.ส.ดวงอักษร ใจดี และเวลา 14.00 น. รุ่นมากกว่า 89 กิโลกรัมชาย นายรุ่งสุริยา ปัญญะ

ทั้งนี้ นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย ผู้จัดการทีมจะนำคณะนักยกน้ำหนักทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ ออกเดินทางไปประเทศกัมพูชา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ด้วยสายการบินบางออก แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ PG 931 ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 8.15 น. และบางส่วนที่มีภารกิจแข่งขันรายการชิงแชมป์เอเชีย 2023 อยู่ในเวลานี้ เมื่อชิงชัยเสร็จส้ิน จะเดินทางออกจากเกาหลีใต้ มุ่งหน้าสู่กัมพูชา เพื่อสมทบกับทีม

  • Hits: 40014