Skip to main content

ข่าวประชาสัมพันธ์

“เขมิกา” ประเดิมลุ้นเหรียญซีเกมส์ ชิงชัย 13 พ.ค.นี้

ยกน้ำหนักซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่ประเทศกัมพูชา จะเปิดฉากชิงชัยกันวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2566 จำนวน 14 เหรียญทอง วันแรกชิง 4 เหรียญ เขมิกา กำเนิดศรี เป็นคนแรกของทีมที่จะประเดิมเวทีในรุ่น 45 กิโลกรัมหญิง

การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่ประเทศกัมพูชา ยกน้ำหนัก มีชิงชัยกัน 14 เหรียญทอง แบ่งเป็น หญิง 7 รุ่น และ ชาย 7 รุ่นแต่เจ้าภาพจำกัดให้แต่ละชาติส่งนักกีฬาในแต่ละประเภทได้สูงสุดเพียงแค่ 6 คน รวม 12 รุ่นเท่านั้น จะเริ่มแข่งขันวันแรก 13 พฤษภาคม 2566 ที่สนามไดโนซอร์ ชรอย ชางวาร์ ชิง 4 เหรียญทอง โดยโปรแกรมการแข่งขันของนักกีฬาไทย เริ่มที่เวลา 10.00 น. รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง น.ส.เขมิกา กำเนิดศรี เวลา 12.00 น. รุ่น 55 กิโลกรัมชาย อส.ทพ.ธาดา สมบุญอ้วน เวลา 14.00 น. รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ร้อยโทหญิงศานิกุณ ธนสาร และ เวลา 16.00 น. รุ่น 61 กิโลกรัมชาย อส.ทพ.ธีรพัฒน์ ชมชื่น

วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชิง 4 เหรียญทอง เริ่มเวลา 10.00 น. รุ่น 55 กิโลกรัมหญิง น.ส.โป๊ยเซียน ยอดสาร เวลา 12.00 น. รุ่น 67 กิโลกรัม อส.ทพ.วิษณุ จันทรี เวลา 14.00 น. รุ่น 59 กิโลกรัมหญิง น.ส.สุรัสวดี ยอดสาร และ เวลา 16.00 น. รุ่น 73 กิโลกรัมชาย จ่าเอกอนุชา ดวงศรี

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ชิง 3 เหรียญทอง แต่ทีมไทยส่งแข่งขัน 2 รุ่น เวลา 12.00 น. รุ่น 81 กิโลกรัมชาย นายจตุภูมิ ชินวงศ์ และเวลา 14.00 น. รุ่น 71 กิโลกรัมหญิง น.ส.ทิพย์วรา จรถวิล

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ชิง 3 เหรียญทอง ทีมไทยแข่ง 2 รุ่น เวลา 12.00 น. รุ่นมากกว่า 71 กิโลกรัมหญิง น.ส.ดวงอักษร ใจดี และเวลา 14.00 น. รุ่นมากกว่า 89 กิโลกรัมชาย นายรุ่งสุริยา ปัญญะ

ทั้งนี้ นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย ผู้จัดการทีมจะนำคณะนักยกน้ำหนักทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ ออกเดินทางไปประเทศกัมพูชา วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ด้วยสายการบินบางออก แอร์เวย์ เที่ยวบินที่ PG 931 ออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลา 8.15 น. และบางส่วนที่มีภารกิจแข่งขันรายการชิงแชมป์เอเชีย 2023 อยู่ในเวลานี้ เมื่อชิงชัยเสร็จส้ิน จะเดินทางออกจากเกาหลีใต้ มุ่งหน้าสู่กัมพูชา เพื่อสมทบกับทีม

  • Hits: 41680

“วีรพล” งัดทีเด็ดคว้า 1 เหรียญทอง และ 1 เหรียญเงิน รุ่น 73 กิโลกรัมชาย

"วีรพล วิชุมา" งัดทีเด็ดคว้าเหรียญทองท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และเหรียญเงิน น้ำหนักรวม รุ่น 73 กิโลกรัมชาย ขณะที่ "สุทธิพงษ์ จีรัมย์ได้อันดับ ทั้ง ท่า ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว เหรียญทอง, 1 เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ ก่อนหน้านี้ทัพยกนำ้หนักไทยคว้ามาแล้ว เหรียญทอง และ เหรียญทองแดง ดังนี้ รุ่น 45 กิโลกนัมหญิง"มายด์สิริวิมล ประมงคล เหรียญทอง/รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญเหรียญทองแดง จากท่าสแนทช์สุรจนา คำเบ้า เหรียญทองแดง จากสถิติน้ำหนักรวมรุ่น 61 กิโลกรัมชาย ธีรพงศ์ ศิลาชัยเหรียญทองแดง จากท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และ น้ำหนักรวม

ล่าสุดเมื่อวันที่ พฤษภาคม 2566 ทีมไทย จอมพลังหนุ่ม วีรพล วิชุมา และ สุทธิพงษ์ จีรัมย์ ลงลุ้นเหรียญรางวัลในรุ่น73 กิโลกรัมชาย เริ่มต้นท่าสแนทช์ วีรพล ครั้งแรกยกผ่านที่ 146 กิโลกรัม ครั้งที่ 2เรียกเหล็ก 150 กิโลกรัม ยกผ่านไปได้เช่นกัน แต่ครั้งที่ เรียกเหล็ก 154กิโลกรัม ยกไม่ผ่าน ทำให้สถิติอยู่ที่ 150กิโลกรัม ได้ที่ ส่วน สุทธิพงษ์ ยกได้ 149กิโลกรัม ได้ที่ 5

จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก วีรพล ทำผลงานยอดเยี่ยม เรียกเหล็ก 186, 190, 192กิโลกรัม ยกผ่านไปได้ทั้งหมด คว้าเหรียญทองมาครอง พร้อมขยับน้ำหนักรวมไปอยู่ที่ 342 กิโลกรัม ได้เหรียญเงิน ขณะที่ สุทธิพงษ์ ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ยกได้ 185 กิโลกรัม ได้ที่ และน้ำหนักรวม334 ได้ที่ 5

ด้าน มาซาโนริ มิยาโมโตะ จากญี่ปุ่น รับ เหรียญทอง นำ้หนักรวม 344 กิโลกรัม และ เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ 153กิโลกรัมท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 191กิโลกรัมเหวย หยินติง จากจีน รับ 1เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 155 กิโลกรัมอเล็กเซย์ ชูร์คิน จากคาซัคสถาน รับ 1เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 154 กิโลกรัม และเหรียญทองแดง น้ำหนักรวม 340กิโลกรัมบัค จูฮโย จากเกาหลีใต้ รับ 1เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 191กิโลกรัม (ทำสถิติได้ก่อน)


สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว 4เหรียญทอง, 1 เหรียญเงิน และ เหรียญทองแดง

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 10 พฤษภาคม รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 . สิริยากร ไขพันดุง และ รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 13.00 . จ่าเอก พชรเมธี ธาระพันธ์,วันที่ 11 พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 . ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่ 13 พฤษภาคม รุ่นมากกว่า 87กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 . ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 3512

“ธนพร” จอมพลังวัย 17 ปี สู้เต็มที่ จบอันดับ 8 ศึกชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย

"ธนพร แซ่เตีย" จอมพลังวัย 17 ปี สู้เต็มที่ ก่อนคว้าอันดับ 8 ทั้ง 3 ท่า รุ่น 59 กิโลกรัมหญิง ขณะที่ 2 สาวจากแดนมังกร แบ่งเหรียญทองกันเอง ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยยังทำผลงานเท่าเดิมมี 3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ ก่อนหน้านี้ทัพยกน้ำหนักไทยคว้ามาแล้ว 3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้ รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง "มายด์" สิริวิมล ประมงคล 3 เหรียญทอง/ รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญ 1 เหรียญทองแดง จากท่าสแนทช์, สุรจนา คำเบ้า 1 เหรียญทองแดง น้ำหนักรวม/ รุ่น 61 กิโลกรัมชาย ธีรพงศ์ ศิลาชัย 2 เหรียญทองแดง จากท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และ น้ำหนักรวม

ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ทีมไทยส่ง ธนพร แซ่เตีย วัยเพียง 17 ปี ลงชิงชัยในรุ่น 59 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ ถือเป็นนักกีฬาที่อายุน้อยที่สุดของกลุ่มเอด้วย โดยท่าสแนทช์ ธนพร เรียกเหล็ก 88, 92, 95 กิโลกรัม ตามลำดับ ยกผ่านไปได้ทั้งหมด สถิติอยู่ที่ 95 กิโลกรัม ได้ที่ 8 จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ธนพร ยกผ่านครั้งแรกที่ 110 กิโลกรัม จากนั้นครั้งที่ 2 เรียกเหล็ก 114 กิโลกรัม แต่ยกไม่ผ่าน ก่อนจะออกมาแก้ตัวสำเร็จที่น้ำหนักเดิม สถิติอยู่ที่ 114 กิโลกรัม ได้ที่ 8 ส่วน น้ำหนักรวม สถิติ 209 กิโลกรัม ได้ที่ 8

ขณะที่ ลัว ชิฟาง จากจีน ได้ 2 เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 105 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 238 กิโลกรัม และ 1 เหรียญเงิน ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 133 กิโลกรัม ส่วน เป่ย ซินยี จากจีน ได้ 1 เหรียญทอง ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 133 กิโลกรัม (ยกทำสถิติได้ก่อน) และ 2 เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 103 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 236กิโลกรัม

ด้าน กั๊วะ ซิง-ชุน จากไต้หวัน ได้ 3 เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ 102 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 128 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 230 กิโลกรัม ฝั่ง ฮิดิลิน ดิอาซ เจ้าของเหรียญทอง รุ่น 55 กิโลกรัม โอลิมปิก "โตเกียวเกมส์" จากฟิลิปปินส์ ท่าสแนทช์ 99 กิโลกรัม ได้ที่ 4, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 122 กิโลกรัม ได้ที่ 5, น้ำหนักรวม 221 กิโลกรัม ได้ที่ 4

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยยังทำผลงานเท่าเดิมมี 3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 8 พฤษภาคม รุ่น 73 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. วีรพล วิชุมา และ สุทธิพงษ์ จีรัมย์, วันที่ 10 พฤษภาคม รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. สิริยากร ไขพันดุง และ รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 13.00 น. จ่าเอกพชรเมธี ธาระพันธ์, วันที่ 11 พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่ 13 พฤษภาคม รุ่นมากกว่า 87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 3540

“ธีรพงศ์” สุดโหด! กระชาก 2 เหรียญทองแดง พร้อมทุบสถิติเยาวชนเอเชียและเยาวชนโลก

จอมพลังหนุ่มไทยสุดปัง "ธีรพงศ์ ศิลาชัย" วัย 20 ปี แม้อายุยังอยู่ในระดับเยาวชน แต่ต่อกรกับรุ่นใหญ่ได้อย่างไม่เกรงกลัว คว้า 2 เหรียญทองแดง รุ่น 61 กิโลกรัมชาย พร้อมทุบสถิติเยาวชนเอเชียและเยาวชนโลก ลงได้ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ก และสถิติน้ำหนักรวม ในศึกยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้

การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ประจำปี 2566 ที่เมืองจินจู ประเทศเกาหลีใต้ หลังเปิดฉากวันแรก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 ทัพยกนำ้หนักไทยคว้ามาได้ 3 เหรียญทอง จาก "มายด์" สิริวิมล ประมงคล รุ่น 45 กิโลกรัมหญิง และ 2 เหรียญทองแดง รุ่น 49 กิโลกรัมหญิง ธรรญธร สุขข์เจริญ จากท่าสแนทช์ ส่วน สุรจนา คำเบ้า จากสถิติน้ำหนักรวม

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ทีมไทยได้ลุ้นจาก ธีรพงศ์ ศิลาชัย วัย 20 ปี ซึ่งลงชิงชัยในรุ่น 61 กิโลกรัมชาย แม้อายุของจอมพลังหนุ่มไทยยังอยู่ในเกณฑ์ระดับเยาวชน แต่ต่อกรกับรุ่นใหญ่ได้อย่างไม่เกรงกลัว เริ่มต้นท่าสแนทช์ ธีรพงศ์ เรียกเหล็ก 127, 130, 132 กิโลกรัม ตามลำดับ ได้อันดับ 4

จากนั้นท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ธีรพงศ์ โชว์ฟอร์มยอดเยี่ยมเรียกเหล็ก 162, 164, 167 กิโลกรัม ตามลำดับ ยกผ่านไปได้ทั้งหมด คว้าเหรียญทองแดงไปครอง พร้อมทำลายสถิติเยาวชนเอเชียของ โมฮาหมัด เอนิค คาสดัน จากมาเลเซีย ที่ทำไว้ 160 กิโลกรัม และทำลายสถิติเยาวชนโลกของ แฮมป์ตัน มิลเลอร์ มอร์ริส จากสหรัฐอเมริกา ที่ทำไว้ 163 กิโลกรัม

ขณะที่ น้ำหนักรวม ธีรพงศ์ ทำสถิติ 299 กิโลกรัม พร้อมทุบสถิติเยาวชนเอเชีย และเยาวชนโลกของ เฮอ หยูจี จากจีน ที่ทำไว้ 296 กิโลกรัม ลงได้ด้วย

ด้าน ลี ฟาบิน จากจีน กวาด 3 เหรียญทอง ท่าสแนทช์ 143 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 171 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 314 กิโลกรัม ส่วน เฉิน ลีจุน จากจีน คว้า 3 เหรียญเงิน ท่าสแนทช์ 142 กิโลกรัม, ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 168 กิโลกรัม, น้ำหนักรวม 310 กิโลกรัม ขณะที่เหรียญทองแดง ท่าสแนทช์ เป็นของ ริคโก ซาปุตรา จากอินโดนีเซีย 133 กิโลกรัม

สรุปผลงานทัพยกเหล็กไทยคว้าไปแล้ว3 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันรุ่นอื่นๆ มีดังนี้ วันที่ 7 พฤษภาคม เวลา 16.00 น. รุ่น 59 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ สุรัสวดี ยอดสาร และ ธนพร แซ่เตีย, วันที่ 8 พฤษภาคม รุ่น 73 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. วีรพล วิชุมา และ สุทธิพงษ์ จีรัมย์, วันที่ 10 พฤษภาคม รุ่น 76 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. สิริยากร ไขพันดุง และ รุ่น 89 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 13.00 น. จ่าเอกพชรเมธี ธาระพันธ์, วันที่ 11 พฤษภาคม รุ่น 96 กิโลกรัมชาย กลุ่มเอ เวลา 16.00 น. ศรัท สุ่มประดิษฐ์ และวันที่ 13 พฤษภาคม รุ่นมากกว่า 87 กิโลกรัมหญิง กลุ่มเอ เวลา 11.00 น. ดวงอักษร ใจดี

  • Hits: 6586