2 นักยกเหล็กสายเลือดใหม่ปรับตัวได้-ลงฝึกซ้อมพร้อมขึ้นเวทียุวชนโลก
- Hits: 867
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 สมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย จัดงานประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ "วันนักกีฬายอดเยี่ยม" ประจำปี 2566 ที่โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในงาน
สำหรับงานประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติ "วันนักกีฬายอดเยี่ยม" ประจำปี 2566 ในปีนี้ สมาคมฯ กำหนดมอบรางวัลทั้งหมด 24 รางวัล โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลงานของนักกีฬาในรางวัลสาขาต่าง ๆ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2566
ในส่วนของสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย "เวฟ" วีรพล วิชุมา นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย คว้ารางวัลนักกีฬาเยาวชนชายยอดเยี่ยม
จากผลงาน 2 ทอง 1 เงิน รุ่น 73 กก.ชาย ศึกยกน้ำหนัก รอบคัดเลือก โอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่ซาอุดีอาระเบีย กับ 1 ทอง 1 เงิน รุ่น 73 กก.ชาย ศึกยกน้ำหนัก รอบคัดเลือก โอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่เกาหลีใต้ และ 1 เงิน รุ่น 73 กก.ชาย กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 โดยมีนายอานัติ วิเศษรจนา อุปนายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับรางวัลแทน
พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีปิดพร้อมมอบวุฒิบัตรให้ผู้เข้าร่วมอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายกน้ำหนักระดับชาติ ประจำปี 2567 ที่สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ จัดขึ้นภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ องคมนตรีในฐานะประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เป็นประธานในพิธีปิดหลักสูตรการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายกน้ำหนักระดับชาติ ประจำปี 2567 ณ โรงแรมเดอะ ภัทรา พระราม 9 กรุงเทพมหานคร พร้อมกับมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้สำเร็จหลักสูตรอบรมจำนวนทั้งสิ้น 41 คน แบ่งเป็นผู้แทนจากโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 13 แห่ง จำนวน 15 คน / อดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติและอดีตนักกีฬาระดับสโมสร 26 คน
การอบรมครั้งนี้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานกีฬายกน้ำหนักตามแผนยุทธศาสตร์ของสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ทั่วประเทศ เนื้อหาทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติจะเน้นความรู้ความเข้าใจเรื่องการวอร์มอัพ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การคลายกล้ามเนื้อ ตลอดจนท่าแข่งขันทั้งสองท่า ประกอบด้วยท่าสแนทช์ และท่าคลีนแอนด์เจิร์ก รวมถึงเรื่องการใช้สารต้องห้าม จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยนายวินัย คำจีนศรี / พันโทหญิง ดร.อภิญญา ดัชถุยาวัตร / นายสุริยา ดัชถุยาวัตร และ นายไกรสอน ดัดถุยาวัฒน์
นายธนกุล บุญทศ ครูผู้ช่วยโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 28 จังหวัดยโสธร กล่าวภายหลังสำเร็จการอบรมในครั้งนี้ว่า ได้รับความรู้เกี่ยวกับกีฬายกน้ำหนักในการยกท่าสแนทช์และคลีนแอนด์เจิร์ก ขณะเดียวกัน นายทองสุข ฉันพินิจ ครูหัวหน้ากลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษาจากโรงเรียนเดียวกัน ยังกล่าวเสริมอีกด้วยว่า จากนี้จะทำความรู้ที่ได้รับกลับไปฝึกสอนและพัฒนาความสามารถทางการกีฬาให้กับเด็กนักเรียนเพื่อสร้างโอกาสให้กับนักเรียนต่อไป เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กด้อยโอกาสและยากจน กีฬายกน้ำหนักจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้ได้รับโอกาสที่ดีในสังคมต่อไป
คณะนักกีฬาและเจ้าหน้าทีมชาติไทย ชุดเข้าร่วมการแข่งขันยกน้ำหนักยุวชนชิงชนะเลิศแห่งโลก ประจำปี 2567 ที่กรุงลิมา ประเทศเปรู ระหว่างวันที่ 22-26 พฤษภาคม 2567 เตรียมออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ช่วงเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 นำทีมโดย นางสาวจุฑาทิป ศรีอาภรณ์ รับหน้าที่ผู้จัดการทีม และนักกายภาพ ขณะที่ นักกีฬาจำนวน 2 คน ได้แก่ นายวุฒิพงษ์ ชมขุนทด รุ่น 61 กิโลกรัม ชาย แข่งขันวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 03.00 น. ตามเวลาประเทศไทย และ นางสาวพุทธรักษ์ ไวพจน์ รุ่น 55 กิโลกรัม หญิง แข่งขันวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 06.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
สำหรับผู้ฝึกสอน ได้แก่ นายประพันธ์ ฑัณวีระ และ นายพิทยา ตีบนอก พร้อมกันนี้ นางประภาศรี พินิจชัย จะเดินทางไปทำหน้าที่ผู้ตัดสินในรายการนี้ด้วย
ทั้งนี้ คณะดังกล่าวออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.45 น. ด้วยสายการบินกาตาร์ แอร์เวย์ส เที่ยวบิน คิวอาร์ 839 ไปยังกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เพื่อต่อเครื่องไปยังกรุงมาดริด ประเทศสเปน ก่อนเปลี่ยนเครื่องไปยังกรุงลิมา ประเทศเปรู มีกำหนดถึงในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 05.10 น. ตามเวลาท้องถิ่น ช้ากว่าประเทศไทย 12 ชั่วโมง รวมเวลาเดินทางทั้งหมด 31 ชั่วโมง 25 นาที