สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย

เขียนโดย Super User ใน . โพสใน Uncategorized.

เกี่ยวกับเรา

 

ความเป็นมาของสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
Thai Amateur Weightlifting Association (TAWA)

ประวัติความเป็นมา

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2501 โดย นายกอง วิสุทธารมณ์ ผู้อำนวยการ กองกีฬา กรมพลศึกษา ได้ยื่นขออนุญาตจัดตั้งสมาคมต่อปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตในวันที่ 18 ตุลาคม 2501 จากนั้นได้ทำเรื่องขอจดทะเบียนสมาคม ต่อกองตำรวจสันติบาล ได้รับการจดทะเบียน ในวันที่ 22 ธันวาคม 2501 จึงนับได้ ว่าสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2501 โดยมีที่ตั้ง สำนักงาน ณ โรงเรียนช่างกลปทุมวัน ตำาบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร

วัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ส่งเสริมการยกน้ำาหนักในประเทศไทย
  2. จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศ สโมสรสมาชิก
  3. จัดการแข่งขันยกน้ำาหนัก และส่งเสริมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างสมาคมยกน้ำหนักนานาชาติ
  4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

โดยผู้ดำารงตำาแหน่งนายกสมาคมฯ คนแรก คือ นายสำราญ เตชะกำาพุธ

กิจกรรมของสมาคม

กิจกรรมที่สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการต่อเนื่องคือ จัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะ เลิศแห่งประเทศไทย ในระดับยุวชน เยาวชน และประชาชน, เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันยกน้ำหนักระดับนานาชาติ,การจัดอบรม ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินกีฬายกน้ำหนัก, การเตรียมทีมนักกีฬาส่งเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติในนามของประเทศไทย เช่น การแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกีฬาซีเกมส์) เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย และ การแข่งขัน ชิงชนะเลิศแห่งโลก เป็นต้น

การจัดการแข่งขันขันชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย

สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย รับผิดชอบจัดการแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยต่อ เนื่องเป็นประจำาทุกปี ๆ ละ 2-3 ครั้ง ในเบื้องต้นเป็นการแข่งขันเพื่อชิงถ้วยของหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดการแข่งขัน ของ บุคคลสำคัญหรือของคณะกรรมการบริหารสมาคม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมกีฬายกน้ำหนักให้พี่ น้องประชาชนทั่วไปได้มีความเข้าใจและให้ความสนใจต่อกีฬายกน้ำหนักมากยิ่งขึ้น   ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีหน่วย งานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ สนับสนุนให้เยาวชนหันมาฝึกซ้อมและเล่นกีฬายก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น  ทำาให้กีฬายกน้ำหนักในประเทศพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทยรุ่นใหม่เพิ่มมาก ขึ้นตามลำดับ

วิสัยทัศน์ (vision) 

“สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย พัฒนามาตรฐานการจัดการและบุคลากรสู่มาตรฐานสากล สร้างความสำเร็จและความภาคภูมิใจในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และการแข่งขันระดับโลก”

นิยามของวิสัยทัศน์

สมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยมีความสามารถในการบริหารจัดการทั้งในส่วนของสมาคมฯ พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาต่างๆ ทั้งผู้ตัดสิน ผู้ฝึกสอน และผู้บริหารไปสู่ระดับสากล เพื่อเป้าหมายสูงสุดในความเป็นเลิศในวงการกีฬายกน้ำหนักระดับโลกและประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับโลก เช่น กีฬาโอลิมปิกและกีฬายกน้ำหนักชิงแชมป์โลก

พันธกิจ (mission)

  1. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้เป็นองค์กรกีฬามาตรฐานที่มีศักยภาพในการบริหารองค์กรให้พึ่งพาตนเองและเป็นองค์กรกีฬาในระดับสากล
  2. พัฒนานักกีฬา ขยายฐานนักกีฬา บริหารจัดการการฝึกซ้อมของนักกีฬาให้มีศักยภาพในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในกีฬาเป็นเลิศระดับโลก
  3. พัฒนาบุคลากรกีฬาของประเทศให้มีปริมาณและสมรรถภาพที่เพียงพอต่อการรองรับ การพัฒนาการแข่งขันและการเติบโตทางการกีฬาของประเทศและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรกีฬา แบบครบวงจรในระดับนานาชาติ
  4. บริหารจัดการการแข่งขันกีฬายกน้ำหนักให้มีมาตรฐานสากล ควบคุม กำกับ และพัฒนา การแข่งขันกีฬาของประเทศให้ได้มาตรฐานตามหลักของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ
  5. พัฒนาวิชาการ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กีฬาและการให้บริการทางการกีฬาแก่สังคม และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่นักกีฬา บุคลากรกีฬา

ทำเนียบนายกสมาคม

  1. นายสำราญ เตชะกำาพุธ (2501-2531)
  2. นายเฉลิม ศรีบุญเรือง(2501-2531)
  3. นายอาทร สังขะวัฒนะ (2501-2531)
  4. นายสุชาติ สมิทธินันต์ (2501-2531)
  5. พลเอก วิมล วงศ์วานิช (5 ก.พ. 2531-25 ม.ค. 2535)
  6. พลเอก ชัยณรงค์  หนุนภักดี (26 ม.ค. 2535-13 ต.ค. 2543)
  7. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (14 ต.ค. 2543-10 เม.ย. 2548)
  8. นางบุษบา ยอดบางเตย (11 เม.ย. 2548-3 พ.ค. 2555)
  9. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (14 พ.ค. 2555-1 ก.ย. 2557)
  10. นางบุษบา ยอดบางเตย (2 ก.ย. 2557-30 ม.ค.2563)
  11. นายปรัชญา กีรตินันท์ (9 เม.ย. 2563-ปัจจุบัน)

นายกกิตติมศักดิ์

  1. พลเอก วิมล วงศ์วานิช
  2. พลเอก ชัยณรงค์  หนุนภักดี
  3. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
  4. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย

กรรมการบริหาร

นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคม 
นายอานัติ วิเศษรจนา อุปนายก
พลเอก คณิต สาพิทักษ์ อุปนายก
นายสมศักย์ ปรางทอง อุปนายก
พลเอก ยศนันท์ หร่ายเจริญ อุปนายก
นายรชต ยอดบางเตย กรรมการ/ฝ่ายบริหาร
พลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์  กรรมการ/ฝ่ายเทคนิค
นายสมศักดิ์ กาญจนาคาร กรรมการ/ฝ่ายสิทธิประโยชน์
นายสมโภชน์ ยิ้มพลอย กรรมการ/ฝ่ายจัดการแข่งขัน
นายธงชัย วรไพจิตร กรรมการ/ฝ่ายวิชาการ
รองศาสตราจารย์ ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร กรรมการ/ฝ่ายกฎหมาย
นายศิริพจน์ ศรีบัณฑิตกุล กรรมการ/ฝ่ายแพทย์
นายฤทธิณรงค์ กุลประสูตร กรรมการ/ฝ่ายประชาสัมพันธ์
นางสาวปัทมา ลำเต็ม กรรมการ / เหรัญญิก
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จอมชัย เลิศอมรรัฐ   กรรมการ/ฝ่ายปฏิคม
นางธรพรรษธร วจีธัญเจริญกุล กรรมการ
พลเอก วิสุทธิ์ เดชสกุล เลขาธิการ
นาวาเอก เพชรเกษม รตาภรณ์ รองเลขาธิการ/นายทะเบียน
นางสาวสิริลักษณ์ ทัดมั่น รองเลขาธิการ/ฝ่ายต่างประเทศ

ประธานที่ปรึกษา

นางบุษบา ยอดบางเตยนายกเทศมนตรีเชียงใหม่ พ.ศ. 2538 – 2541

ข้อมูลส่วนตัว

ด้านการศึกษา:

ด้านการเมือง:

ด้านกีฬา:

 ด้านกีฬายกน้ำหนัก:

ประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก:

การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการยกน้ำหนัก: